ปัญหาการกลั่นแกล้งในโรงเรียนเป็นปัญหาใหญ่ที่พ่อแม่อย่างเราไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง จากสถิติของกรมสุขภาพจิตปี 2561 พบว่าเด็กไทยมีการกลั่นแกล้งกันมนโรงเรียนสูงถึง 40 % ซึ่งเป็นอันดับสองของโลกรองจากญี่ปุ่น โดยมีสื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ และทวีความรุนแรงของการกลั่นแกล้งให้บานปลายได้ 

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ไม่เพียงแต่บ้านเราเท่านั้นที่เผชิญกับเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทั่วโลกต้องหันมาสนใจ เราจะเห็นข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น บางครั้งเกิดการสูญเสียที่นำความสะเทือนใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับทราบข่าวผ่านสื่อต่างๆ และมักจะลงเอยด้วยคำว่า “ ถ้ารู้อย่างนี้ ”

รูปแบบการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ ทำได้ตั้งแต่ 

– การว่าร้าย ใส่ความ ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ข่มขู่ สร้างข่าวลือ

– การคุกคามทางเพศ ล้อเลียนเรื่องรสนิยมทางเพศ หรือแม้แต่ล้อเลียนเรื่องรูปลักษณ์หน้าตา

– การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่นสร้างบัญชีปลอมขึ้นมาคุยด้วย เพื่อหลอกเอาข้อมูลหรือทำให้เสียหาย

– การสร้างกลุ่มในสื่อโซเซียลเพื่อโจมตีโดยเฉพาะ

– การโพสต์รูปหรือวิดิโอที่กระทบกระเทือนจิตใจ 

โลกไซเบอร์ทำให้การกลั่นแกล้งกันรุนแรงและส่งผลกระทบต่อจิตใจให้กับเด็กๆ ได้มากกว่าการกลั่นแกล้งทั่วไป เพราะโลกออนไลน์เปิดทางให้ผู้กระทำไม่ต้องเปิดเผยตัวตน หาที่มาต้นตอไม่ได้ ทำซ้ำได้เรื่อย ๆ แชร์ต่อๆ กันไปอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นได้ไม่เลือกที่หรือเวลาเกิดขึ้นได้ 24 ช.ม. เปิดเมื่อไรก็เจอ ทำได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า และไม่มีวันจบสิ้น 

เด็กๆ ที่ตกอยู่ในสถานการณ์การกลั่นแกล้งกันนี้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ผู้กระทำ 

ความรู้สึกของการมีอำนาจเป็นแรงกระตุ้นสำคัญของผู้กระทำ จึงมีแนวโน้มของพฤติกรรมไปในทางก้าวร้าว เข้าใจการใช้อำนาจจะทำให้ตัวเองได้ในสิ่งที่ต้องการ รู้สึกมีอำนาจเป็นหัวหน้ากลุ่มเมื่อเห็นผู้อื่นอ่อนแอกว่าตนเอง ขาดความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น 

ถ้าเด็กๆเป็นผู้กระทำเสียเอง สิ่งที่พ่อแม่อย่างเราควรทำ คือ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง รับฟังสาเหตุที่แท้จริง กระตุ้นหากิจกรรมที่เอื้อต่อการสร้างความเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่เขาทำ เช่น งานอาสาสมัคร เป็นตัวอย่างที่ดีของการไมใช้อำนาจแต่ใช้ความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจเป็นหลักเพื่อปรับเปลี่ยนความคิดลพฤติกรรม ให้เหมาะสมและไม่เป็นปัญหาในอนาคตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ 

  1. ผู้ที่เลือกยืนดูเฉยๆ 

ในระหว่างที่สถานการณ์การกลั่นแกล้งนั้นดำเนินไป เด็กส่วนใหญ่มองเห็นการกระทำของทั้ง 2 ฝ่าย และเลือก    gclub เว็บตรง    ที่จะอยู่เฉยๆ เพราไม่อยากให้ตัวเองถูกกระทำ ยอมรับการกลั่นแกล้งไปโดยปริยาย และมีแนวโน้มว่าจะเลือกอยู่ฝ่ายของผู้กระทำถ้าสถานการณ์บังคับให้ต้องเลือก หรือเริมสนุกไปด้วย ถ้าเด็กๆ เป็นผู้เลือกจะอยู่เฉยๆ เราควรสร้างความเข้าใจกับเขาว่าเขามีพลัง และกล้าหาญพอที่จะช่วยให้เพื่อนรอดพ้นจากการกลั่นแกล้งได้ โดยเข้าไปช่วยแก้ปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม

  1. ผู้ถูกกระทำ

มักจะเป็นเด็กที่ขาดทักษะการเข้าสังคม ไม่มั่นใจในตัวเอง เด็กที่ดูแตกต่างจากคนอื่น ทั้งในด้านกายภาพ เช่น ตัวเล็ก เป็นเด็กใหม่ เป็นเพศที่สาม หรือแม้แต่เด็กที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ หรือเกิดจากความหวาดกลัวแล้วยอมรับการกระทำเมื่อโดนกลั่นแกล้ง ไม่กล้าที่จะบอกว่า หยุด เมื่อถูกกลั่นแกล้ง หรืออีกแบบคือโต้กลับด้วยความรุนแรงแต่ก็ไม่ทำให้วงจรการกลั่นแกล้งหยุดลง

ภัยการกลั่นแกล้งกันทางไซเบอร์เป็นปัญหาหลักในโลกออนไลน์ของวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับจากเพื่อนและสังคม เป็นวัยที่มีพลังสร้างสรรค์สูง ถ้าเขาถูกทำให้หยุดชะงักลงด้วยความรู้สึกแปลกแยก ความรู้สึกโดเดี่ยวไม่เป็นที่ต้องการ อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า เป็นความรู้สึกที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อจิตใจโดยตรง