หมวดหมู่: ความรู้เรื่องคอมพิเตอร์

ศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

Enforce account lockout policy : ให้ทำการเลือกรหัสผ่านอัตโนมัติเมื่อใส่รหัสผ่านผิดเกินจำนวนครั้งที่กำหนด : Boolean (FALSE)

Number of failed logon attempted allowed : จำนวนครั้งที่พิมพ์รหัสผ่านผิดได้ก่อนจะถูกล็อกรหัสผ่าน : Integer (เลขจำนวนเต็ม)

Reset failed logon attempted count after : เริ่มนับจำนวนครั้งที่ใส่รหัสผ่านผิดใหม่ : Integer (เลขจำนวนเต็ม) (ค่าดีฟอลต์ 30 นาที)

For a duration of : ช่วงเวลาในการล็อกรหัสผ่าน เมื่อเกินกำหนดเวลานี้แล้วยูสเซอร์จึงสามารถล็อกออนเข้ามาได้ : Integer (เลขจำนวนเต็ม) (ค่าดีฟอลต์ 30 นาที)

Unit an administrator manually unlock the account : ล็อกรหัสผ่านจนกว่าผู้ดูแลระบบจะทำการปลดล็อกแล้วยูสเซอร์จึงจะล็อกออนเข้าระบบได้

แสดงผลลัพธ์การสร้างและกำหนดนโยบายรหัสผ่านให้กับ PSO

บังคับใช้นโยบายไปยังกรุ๊ป

หลังจากที่ได้สร้าง PSO เสร็จแล้ว ให้บังคับใช้นโยบายกับยูสเซอร์และกรุ๊ป ได้ดังนี้

  1. ที่เครื่องมือ Active Directory Administrative Center ให้ดับเบิลคลิกที่ Password Setting Object
  2. ปรากฏหน้าต่าง Password setting for Computer ให้คลิกปุ่ม Add เพื่อเข้าไปเลือกกรุ๊ปที่จะรับนโยบายนี้
  3. ปรากฏหน้าต่าง Select Users or Groups ให้พิมพ์ชื่อยูสเซอร์หรือกรุ๊ปที่ต้องการลงไปเช่น Computer (เราสามารถจะพิมพ์คำย่อ com) ลงไปได้ จากนั้นคลิกปุ่ม Check Names
  4. ในหน้าต่าง Multiple Names Found ให้เลือกกรุ๊ปที่จะรับนโยบายนี้ และคลิก OK
  5. กลับมาที่หน้าต่าง Select Users or Groups จากนั้นคลิกปุ่ม OK
  6. แสดงชื่อกลุ่ม Computer ในกรอบ Directory Applies To เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK

ป้องกันยูสเซอร์แก้ไข Control Panel และ Registry

เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับตัวเครื่อง เราสามารถบล็อกไม่ให้ยูสเซอร์แก้ไข Control Panel และใช้ Regedit แก้ไขรีจิสตรีในเครื่องที่ใช้อยู่ได้ โดยการกำหนดนโยบายใน GPO ผ่านหน้าต่าง Group Policy Management Edit ดังนี้

  1. บล็อกการเปิด Control Panel โดยไปที่ User Configuration > Policies > Administrative Templates > Control Panel
  2. ที่หน้าจอดด้านขวาให้ดับเบิลคลิกที่นโยบาย Prohibit access to Control Panel and PC Settings
  3. ปรากฏหน้าต่าง Prohibit access to Control Panel and PC Settings ให้เลือก Enabled และคลิกปุ่ม OK
  4. กลับมาที่หน้าต่าง Group Policy Management Editor สังเกตที่นโยบาย Prohibit access to Control Panel and PC Settings จะมีสถานะเป็น Enabled
  5. บล็อกไม่ให้ยูสเซอร์ใช้ Regedit แก้ไขรีจิสตรี โดยให้ไปที่ User Configuration > Policies > Administrative Templates > System
  6. ดับเบิลคลิกที่นโยบาย Prevent access to registry editing tools
  7. ปรากฏหน้าต่าง Prevent access to registry editing tools ให้เลือก Enabled และคลิกปุ่ม OK
  8. จะเห็นว่านโยบาย Prevent access to registry editing tools มีสถานะเป็น Enabled

 

ขอบคุณข้อมูลเหล่านี้จาก แทงมวยสด

เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุขัย

เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุขัย

ความร้อนที่เป็นสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา  โดยมีสาเหตุเกิดจากความร้อนของ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดตัวของมันเอง  

เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุขัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เรา จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์ต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด   แต่ปกติเครื่องจะติดตั้งพัดลมระบายอากาศตามชิ้นส่วนต่างๆ ไว้อยู่แล้ว เช่น พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับCPU พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับการ์ดจอ พัดลมระบายอากาศที่ติดอยู่กับเพาเวอร์ซัพพลาย และพัดลมระบายอากาศที่ติดตั้งอยู่ที่เคส  ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเราจึงต้องสังเกต ให้พัดลมที่ถูกตั้งอยู่ตามจุดต่างๆทำงาน ได้เต็มประสิทธิภาพ

เครื่องคอมพิวเตอร์มีอายุขัย

เพาเวอร์ซัพพลาย เป็นอีกจุดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความร้อน

โดยสาเหตุ คือ ขนาดไม่เหมาะสมกับความต้องการกระแสไฟฟ้าของเครื่อง ทำให้เพาเวอร์ซัพพลายทำงานหนักเกินกว่าสเป็คของมัน และที่เป็นปัญหาทำให้ความร้อนเพิ่ม ก็เป็นเพราะเรามีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มหรือในกรณีที่ซื้อเครื่องประกอบเอง 

ดังนั่น ควรเลือกเพาเวอร์ซัพพลายที่ได้คุณภาพตามมาตรฐานเพื่อลดการเกิด สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้าซึ่งอาจจะไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆได้

นอกจากนี้ตำแหน่งที่ตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ควรอยู่ในบริเวณที่ต้องโดน แสดงแดดเป็นเวลานาน  และควรติดตั้งตัวเครื่องห่างจากผนังพอสมควรเพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ ดียิ่งขึ้น และในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุก ๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกัน ความร้อนทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก

นอกจากนี้ฝุ่นผงอาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือเกาะตามใบ พัดของพัดลมระบายอากาศตามจุดต่างๆ 

 ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จึงควรได้รับการทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยช่างผู้ชำนาญ

สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้าอาจเกิดได้ในหลายลักษณะตั้งสัญญาณรบกวนอ่อนจาก อุปกรณ์ ที่ได้มาตรฐาน แรงดันไฟตก แรงดันไฟเกิน ไฟกระตุก สัญญาณไฟฟ้าไม่สม่ำเสมอ ฟ้าผ่า ทั้งหมดนี้สามารถทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดไปจนถึงเสียหายได้

จึงควรมีการติดตั้งเครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่น ๆ

ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง

จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น

ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น เราจึงควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์

ขอบคุณเว็บ แทงบอลไม่มีขั้นต่ำ ที่ให้ข้อมูลดีๆเหล่านี้

Child Domain Controller

การติดตั้ง Child Domain Controller

Child Domain Controller หรือโดเมนลูก เหมาะสำหรับองค์กรที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีสาขาย่อยอยู่ต่างจังหวัด (Regional Domain model) เป็นการกระจายทรัพยากรจากส่วนกลางไปยังสาขาต่างๆ และช่วยลดปริมาณทราฟฟิกในการเรพลิเคตข้อมูล โดยที่โดเมนหลัก (Parent Domain) จะอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และ Child Domain อยู่ที่ต่างจังหวัดคอยรอรับการล็อกออนจากเครื่องไคลเอนต์สาขาย่อย และตัว และตัว Child Domain ก็จะต้องมี Namespace เหมือนกับโดเมนหลัก สมมติโดเมนที่กรุงเทพมหานครชื่อ sima2019.com โดเมนของสาขาจะต้องมีชื่อ เช่น cm.siam2019.com

Child Domain Controller

วิธีนี้ทำให้เครื่องไคลเอนต์จากสาขาต่างจังหวัดสามารถจะเข้าใช้งานทรัพยากรบนโดเมนหลักได้

Child Domain Controller ในการสร้าง Child Domain จะต้องคิดในเรื่องแบนด์วิดธ์ให้ดี ถ้าการเชื่อมต่อ (Link) ระหว่างโดเมนมี Available bandwidth ไม่มากพอ จะทำให้มันเชื่อมต่อกับ Root ได้ยากมาก จะต้องมาดูโครงสร้างระบบ Network Bandwidth ด้วยว่าการเชื่อมต่อสามารถจะรองรับการเรพลิเคตระหว่างไซต์ได้หรือไม่

– การเชื่อมต่อระหว่างไซต์มีความเร็วและแบนด์วิดธ์มากพอหรือไม่?

– การเชื่อมต่อมี Availability แบบ Aways On (ใช้งานได้ตลอดเวลา) หรือไม่?

โครงสร้างระบบ Network Bandwidth การเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาทั่วประเทศ เป็นการใช้สายโทรศัพท์แบบ Leased line ที่ความเร็ว 2 Megabit / sec เพิ่มความน่าเชื่อถือในการรับ – ส่งข้อมูล เพราะว่า Leased line จะมี upstream / downstream ที่เท่ากัน ต่างจาก ADSL ที่มี upstream / downstream ไม่เท่ากัน เช่น 2M / 512k (Up / Down) หรือบางพื้นที่อยู่ตามป่าเขา สายสัญญาณเข้าไปไม่ถึงก็จะใช้ระบบดาวเทียม (Satellite) แทน ปกติแล้วสาย Leased line จะมี Availability แบบ Aways On คือใช้งานได้ตลอดเวลา

เริ่มต้นให้ติดตั้ง Server Role ชื่อ Active Directory Domain Service ให้เรียบร้อย จากนั้นรีสตาร์ทเครื่อง 1 ครั้ง และทำตามขั้นตอนดังนี้

  1. หน้าต่าง Server Manager ให้คลิกที่เครื่องหมาย Link และเลือก Promote this server to a domain controller
  2. ที่แท็บ Deployment Configuration เลือกการติดตั้งแบบ Add a new domain to an existing forest เพื่อเพิ่มโดเมนใหม่ในฟอเรสต์เดิมที่มีอยู่แล้ว
  3. เลือกชนิดโดเมนเป็น Child Domain (โดเมนลูก)
  4. ระบุชื่อ Parent Domain (โดเมนแม่)
  5. คลิก Change ระบุผู้มีสิทธิ์จัดการโดเมมน
  6. พิมพ์ชื่อโดเมน \Administrator และรหัสผ่าน จากนั้นคลิก OK
  7. เลือกโดเมน เพื่อให้โดเมนคอนโทรลเลอร์ที่จะสร้างใหม่อยู่ในโดเมนนี้ จากนั้นคลิก OK
  8. กลับมาที่แท็บ Deployment Configuration ที่ช่อง New domain name ระบุชื่อโดเมนย่อย จากนั้นคลิก OK
  9. ที่แท็บ Domain Controller Options ใส่รหัสผ่านของ Directory Services Restore Mode จากนั้นคลิกปุ่ม Next
  10. ที่แท็บ DNS Options แจ้งการสร้าง DNS delegation อัตโนมัติและชื่อผู้ใช้ในการสร้าง จากนั้นคลิกปุ่ม Next
  11. ที่แท็บ Additional Options แสดงชื่อโดเมนย่อยแบบ NetBIOS domain name จากนั้นคลิกปุ่ม Next
  12. ที่แท็บ Paths แสดงพาธที่เก็บฐานข้อมูล AD DS, ไฟล์ Log และ SYSVOL จากนั้นคลิกปุ่ม Next
  13. ที่แท็บ Prerequisites Check แจ้งการตรวจสอบความถูกต้องที่กำหนดไว้ จากนั้นคลิกปุ่ม Install
  14. เมื่อติดตั้งเสร็จระบบจะทำการรีสตาร์ทเครื่อง
การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล 

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล 

การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล การแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล 

ความรู้เบื้องต้นคอมพิวเตอร์กับการแบ็คอัพและเรียกคืนข้อมูล 

ไดรเวอร์ (Drivers)

เป็นชุดโปรแกรมขนาดเล็กที่ถูกพัฒนาเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ ที่ถูกติดตั้งบนคอมพิวเตอร์เพื่อให้ฮาร์ดแวร์ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง แต่สิ่งที่สำคัญคือคุณควรติดตั้งไดรเวอร์ให้ตรงกับรุ่นของฮาร์ดแวร์
และต้องเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอีกด้วย

เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการทำงานของตัวฮาร์ดแวร์สำหรับไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ประกอบไปด้วย

– ไดรเวอร์ชิปเซ็ต (Chipset) เป็นไดรเวอร์ที่ต้องติดตั้งร่วมกับเมนบอร์ด(Mainboard) เพื่อควบคุมให้ส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ

– ไดรเวอร์การ์ดเสียง (Audio)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้ชิปการ์ดเสียงทำงาน ดูหนัง ฟังเพลงได้

– ไดรเวอร์การ์ดจอ (Video)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้การ์ดจอแสดงรายละเอียดของภาพได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง

– ไดรเวอร์การ์ดแลน (LAN)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้การ์ดแลนเชื่อมต่อสื่อสาร หรือรับ-
ส่งข้อมูลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้

– ไดรเวอร์โมเด็ม (Modem)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อใช้งานร่วมกับคู่สายโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ต เช่น Dual-up 56 K, ADSL เป็นต้น

– ไดรเวอร์กล้อง (Camera)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อใช้งานกล้องบันทึกและถ่ายทอดภาพในรูปแบบภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง

–  ไดรเวอร์สแกนนิ้วมือ (Finger)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งสำหรับสแกนนิ้วมือเพื่อตรวจสอบผู้ใช้งานก่อนเข้าใช้งานซึ่งเน้นไปที่เรื่องของความปลอดภัยเป็นหลักเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สามารถเข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ของเราได้

– ไดรเวอร์มอนิเตอร์ (Monitor)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้จอภาพแสดงภาพและปรับแต่งค่าต่างๆของจอภาพได้อย่างถูกต้อง

– ไดรเวอร์เมาส์และคีย์บอร์ด (Mouse & Keyboard)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้เมาส์และคีย์บอร์ดตอบสนองและทำงานได้อย่างถูกต้อง

– ไดรเวอร์พรินเตอร์ (Printer)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้สามารถพรินต์เอกสารไปยังพรินเตอร์ได้อย่างถูกต้อง

– ไดรเวอร์สแกนเนอร์ (Scanner)เป็นไดรเวอร์ที่ถูกติดตั้งเพื่อให้สามารถสำเนาเอกสารให้อยู่ในรูปแบบไฟล์อิมเมจ(Image Files)

– ไดรเวอร์อื่นๆ เช่น USB 2.0, 3.0, Bios หรือ Firmwareเพื่อให้คอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ใหม่ๆ ที่เชื่อมต่อเป็นครั้งแรกได้

Page 4 of 4

Powered by WordPress & Theme by Anders Norén